ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4
บทที่3 เรื่องอีเลอร์นิ่งและจัดการ(E-Learning and LMS)
อีเลิร์นนิ่ง หมายถึง คือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาหรือความรู้ การจัดการเรียนการสอนด้วยอีเลิร์นนิ่ง มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ ใช้ความสามารถของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือและสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ
องค์ประกอบของระบบอีเลิร์นนิ่ง
ผู้สอน โปรแกรมจัดระบบ e-learning สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ
ข้อดีและข้อจำกัดของอีเลิร์นนิ่ง
ข้อดีของอีเลิร์นนิ่ง
1. ความสะดวกสบาย 2.
ความสัมพันธ์กับปัจจุบัน
3. ความเร็วแบบทันทีทันใด 4. ความเป็นเลิศของระบบ
5. การมีปฏิสัมพันธ์ 6. ความเป็นสหวิชาการ
ข้อจำกัดของอีเลิร์นนิ่ง
1. การเรียนออนไลน์มีข้อจำกัดการให้ผลสะท้อนกลับ
2. อีเลิร์นนิ่งทำให้ผู้เรียนอยู่ในสังคมแบบโดดเดี่ยวได้
3. อีเลิร์นนิ่งต้องสร้างแรงจูงใจภายในและมีทักษะจัดการเวลา
4. ผู้เรียนออนไลน์ขาดการพัฒนาทักษะการสื่อสาร
ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System)
เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์หรือ e-learning นั้นเป็นการเรียนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ระบบบริหารการเรียนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน นำส่งบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ประเมินผลความสำเร็จของบทเรียน ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน จึงถือว่าเป็นองค์ประกอบของ e-learning ที่สำคัญมาก เราเรียกระบบนี้ว่า "ระบบบริหารการเรียน"
LMS คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย มีเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญ สำหรับผู้สอน ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ระบบการจัดการรายวิชา ระบบการจัดการสร้างเนื้อหา ระบบบริหารจัดการผู้เรียน ระบบส่วนการจัดการข้อมูลบทเรียน และระบบเครื่องมือช่วยจัดการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์และจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ การสื่อสาร Chat, E-mail, Web-board, การเข้าใช้ การเก็บข้อมูล, และการรายงานผล เป็นต้น
Moodle มูเดิ้ล หรือ Moodle ย่อมาจากคำว่า Modular Object Oriented Dynamic Learning Environment (Moodle, 2020) เป็นซอฟต์แวร์ประเภทระบบบริหารจัดการรายวิชา พัฒนาเนื้อหา และสร้างกิจกรรมการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง จัดอยู่ซอฟต์แวร์ประเภทที่เรียกว่า Learning and Course and Management System: LCMS หรือ มักนิยมเรียกว่า Learning Management System: LMS
คุณลักษณะของ Moodle LMS
1.คุณลักษณะทั่วไป มีดังนี้
Moodle เป็นซอฟท์แวร์สำเร็จรูปที่มีความสามารถในการ บริหารจัดการรายวิชา (Course Management System: CMS) ช่วยให้นักการศึกษาหรือผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกอีกอย่างหนี่งว่า Learning
ความสามารถพื้นฐานทั่วไปของ Moodle ได้แก่ สามารถทำงานบนะบบปฏิบัติการหลายรูปแบบ เช่น Unix, Linux, Windows, Mac OS X และ Netware
2. ความสามารถในการจัดการเว็บไซต์สำหรับการเรียนการสอน
3. การบริหารจัดการผู้ใช้
4. ความสามารถในการจัดการรายวิชา
การจัดการและใช้ระบบ Moodle LMS
1. ระบบทดสอบการใช้ Moodle LMs สำหรับการทดสอบระบบการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ให้ผู้เรียนทดสอบระบบโดยใช้เว็บไซต์ http://smp.yru.ac.th
2. การเข้าสู่ระบบโดยผู้ใช้ทั่วไป (Guest User) ปกติการเข้าสู่ระบบการจัดการเรียนรู้อีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วย Moodle LMS ซึ่งในรายวิชานี้ กำหนดให้ใช้เว็บไซต์ http://smp.yru.ac.th เป็นระบบทดสอบ ผู้ใช้ทั่วไปจะเข้าสู่ระบบไดในบทบาทของผู้ใช้ทั่วไป หรือ Guest ดังภาพ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดและสภาพแวดล้อมของหน้าแรกของเว็บไซต์ได้ แต่ไม่สามารถเข้าเรียนในรายวิชาได้ จนกว่าจะลงทะเบียนและได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เรียนในระบบ
3. ผู้ใช้เข้าระบบเป็นนักเรียน (Student) กรณีได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ใช้ในระบบ บทบาทแรกของผู้ใช้คือ ผู้เรียนหรือนักเรียน (Student) เมื่อเข้าระบบ จะพบหน้าแรกหรือหน้าส่วนตัวของผู้ใช้ เรียกว่า Dashboard ซึ่งผู้ใช้สามารถแก้ไขรายละเอียดที่เกี่ยวข้องของตนเองได้ตามความต้องการ ทั้งนี้ ผู้บริหารระบบหรือ Admin สามารถกำหนดบทบาท (Role) และสิทธิ์ (Permission) ให้กับผู้ใช้ในระบบให้เป็นบทบาทอื่น ๆ เช่น ผู้สอน ผู้สร้างรายวิชา ผู้บริหารระบบ ได้ภายหลัง เมื่อเข้าระบบได้แล้วจะมีหน้าจอบ
สรุป
การจัดการระบบอีเลิร์นนิ่งด้วย LMS นั้น มี LMS ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายจำนวนมาก
ทั้งซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ และซอฟต์แวร์เปิด (Open Source Software) เช่น Moodle LMS ซึ่งมีความสามารถในการบริหารจัดการหลักสูตร
สร้างรายวิชา เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ บริหารผู้สอนและผู้เรียน
สามารถติดตามประเมินผลการเรียนรู้ ติดตามพฤติกรรมผู้เรียนในระบบ
รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมืออำนวยความสะดวกแก่ผู้สอนและผู้เรียนในติดต่อสื่อสารด้วย
กล่าวโดยสรุป LMS มีองค์ประกอบระบบย่อย ๆ ภายใน
ได้แก่ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) ระบบการสร้างบทเรียน
(Content Management) ระบบสอบและประเมินผล (Test and
Evaluation System) ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) และ ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น