"ตารีอีนา"

ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน"ตารีอีนา" 

แหล่งที่มารูปภาพ https://www.m-culture.go.th/narathiwat/ewt_news.php?nid=584&filename=index

ณ พื้นที่หมู่ ๖ บ้านสามแยกหรือ “บ้านวากัฟซีกู” ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ชุมชนที่สืบสานถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมีเอกลักษณ์โดดเด่นของตนเอง ที่เรียกกันว่า “ตารีอีนา” ซึ่งถือเป็นเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย ที่ยังอนุรักษ์สืบสานการแสดง ซึ่งนับวันจะสูญหายไปจากชุมชน เนื่องจากขาดผู้สืบทอด

ตารีอีนา” คือการแสดงศิลปะที่ผสมผสานระหว่าง "ซิละ" ศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า ที่มีการเคลื่อนไหวสง่างามของชาวไทยมุสลิม มีมาช้านานกว่า 400 ปี ผสมผสานกับ "มโนราห์" ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของพี่น้องภาคใต้ที่มีท่วงท่าอ่อนช้อยงดงาม ในสมัยก่อนผู้ชายนิยมจะเล่นกัน แต่ปัจจุบันต้องเปลี่ยนมาเป็นเด็กผู้หญิงเพราะร่างกายจะอ่อนช้อยสวยงามกว่า นิยมแสดงในงานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง หรืองานมงคลต่างๆ

จุดเด่นของตารีอีนา คือ การร่ายรำทำท่าสะพานโค้ง ถ้าใครมีความสามารถที่ดีที่สุด จะสามารถทำท่าสะพานโค้งแล้วหยิบเหรียญบาทได้ และที่เด่นอีกกว่านั้น คือ ทำท่าสะพานโค้งแล้วหยิบธนบัตรที่วางเหรียญอยู่ด้านบน แล้วหยิบมาให้หมดโดยการรวบทีเดียว สำหรับที่มาที่ไปตารีอีนาเริ่มแรกมาจากเจ้าสาวให้ใส่ “เฮนน่า”แล้วอยู่บนบัลลังก์ ให้คนมารำ “ตารี” รอบบัลลังก์ จึงมีการเรียก “ตารีอีนา”  >>> อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่

การแต่งกาย


แหล่งที่มารูปภาพ https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/55783

จะประกอบด้วย

         1) สิลิแน หรือผ้าพันรอบเอว

         2) หมวกคลุม

         3) เข็มขัดผ้ารัดเอว

         4) กางเกง จะเน้นให้มีความยามถึงตาตุ่ม

         5) เสื้อ นิยมตัดเย็บในลักษณะแขนสามส่วน

         6) บุหงา ใช้สำหรับประดับผมให้สวยงาม

         7) กรองทอง ใช้สวมทับเสื้ออีกครั้ง

         8) เล็บนางรำใช้สวมใส่นิ้วมือ เพื่อใช้ในการร่ายรำให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น

เครื่องดนตรี จะประกอบด้วย

        1) ปี่, 2) กลองตัวผู้ , 3) กลองตัวเมีย , 4) ฉิ่งฉาบ , 5) พรม , 6) ฆ้อง 2 ลูก

วิธีการแสดง



แหล่งที่มารูปภาพ Facebook Viu Thailand : ตารีอีนา | ปักษ์ใต้บ้านเรา EP.4

     
     ผู้แสดงจะต้องมีเอวที่อ่อน ทำท่าสะพานโค้งกลับหลัง แล้วใช้ปากรับสิ่งของที่มอบให้กับพื้นเหมือนกับการแสดงกายกรรม ซึ่งการให้ทำสะพานโค้งและใช้ปากหยิบวัตถุหรือสิ่งของที่พื้นนั้น จะฝึกค่อนข้างยาก ต้องใช้เวลาพอสมควร ประมาณ 3-4 เดือน คนที่แสดงได้ต้องเป็นเด็กเพราะต้องตัวอ่อน 

        ดังนั้น การแสดงพื้นบ้านนี้จึงต้องให้เด็กๆ เป็นคนสืบสานและอนุรักษ์ต่อๆ กันไป เพราะถ้าหากโตขึ้นมากกว่านี้ก็อาจจะแสดงไม่ได้แล้วเพราะติดภาระในการเรียนที่มากขึ้น เลยต้องมีการชวนเด็กๆ รุ่นเล็กๆ ให้เข้ามาร่วมในการแสดงเรื่อยๆ เพื่ออนุรักษ์การแสดงนี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป >>> อ่านต่อได้ที่

ตัวอย่างวิดีโอ การแสดงตารีนา


มนต์มลายู: การแสดงตารีอีนา

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

- http://libarts.pnu.ac.th/images/libdatabase/3southern/Tariena.pdf

-https://www.thairath.co.th/content/453101

- https://www.youtube.com/watch?v=jPUmcN9URSk