"ตารีอีนา"

ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน"ตารีอีนา" 

แหล่งที่มารูปภาพ https://www.m-culture.go.th/narathiwat/ewt_news.php?nid=584&filename=index

ณ พื้นที่หมู่ ๖ บ้านสามแยกหรือ “บ้านวากัฟซีกู” ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ชุมชนที่สืบสานถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมีเอกลักษณ์โดดเด่นของตนเอง ที่เรียกกันว่า “ตารีอีนา” ซึ่งถือเป็นเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย ที่ยังอนุรักษ์สืบสานการแสดง ซึ่งนับวันจะสูญหายไปจากชุมชน เนื่องจากขาดผู้สืบทอด

ตารีอีนา” คือการแสดงศิลปะที่ผสมผสานระหว่าง "ซิละ" ศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า ที่มีการเคลื่อนไหวสง่างามของชาวไทยมุสลิม มีมาช้านานกว่า 400 ปี ผสมผสานกับ "มโนราห์" ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของพี่น้องภาคใต้ที่มีท่วงท่าอ่อนช้อยงดงาม ในสมัยก่อนผู้ชายนิยมจะเล่นกัน แต่ปัจจุบันต้องเปลี่ยนมาเป็นเด็กผู้หญิงเพราะร่างกายจะอ่อนช้อยสวยงามกว่า นิยมแสดงในงานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง หรืองานมงคลต่างๆ

จุดเด่นของตารีอีนา คือ การร่ายรำทำท่าสะพานโค้ง ถ้าใครมีความสามารถที่ดีที่สุด จะสามารถทำท่าสะพานโค้งแล้วหยิบเหรียญบาทได้ และที่เด่นอีกกว่านั้น คือ ทำท่าสะพานโค้งแล้วหยิบธนบัตรที่วางเหรียญอยู่ด้านบน แล้วหยิบมาให้หมดโดยการรวบทีเดียว สำหรับที่มาที่ไปตารีอีนาเริ่มแรกมาจากเจ้าสาวให้ใส่ “เฮนน่า”แล้วอยู่บนบัลลังก์ ให้คนมารำ “ตารี” รอบบัลลังก์ จึงมีการเรียก “ตารีอีนา”  >>> อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่

การแต่งกาย


แหล่งที่มารูปภาพ https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/55783

จะประกอบด้วย

         1) สิลิแน หรือผ้าพันรอบเอว

         2) หมวกคลุม

         3) เข็มขัดผ้ารัดเอว

         4) กางเกง จะเน้นให้มีความยามถึงตาตุ่ม

         5) เสื้อ นิยมตัดเย็บในลักษณะแขนสามส่วน

         6) บุหงา ใช้สำหรับประดับผมให้สวยงาม

         7) กรองทอง ใช้สวมทับเสื้ออีกครั้ง

         8) เล็บนางรำใช้สวมใส่นิ้วมือ เพื่อใช้ในการร่ายรำให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น

เครื่องดนตรี จะประกอบด้วย

        1) ปี่, 2) กลองตัวผู้ , 3) กลองตัวเมีย , 4) ฉิ่งฉาบ , 5) พรม , 6) ฆ้อง 2 ลูก

วิธีการแสดง



แหล่งที่มารูปภาพ Facebook Viu Thailand : ตารีอีนา | ปักษ์ใต้บ้านเรา EP.4

     
     ผู้แสดงจะต้องมีเอวที่อ่อน ทำท่าสะพานโค้งกลับหลัง แล้วใช้ปากรับสิ่งของที่มอบให้กับพื้นเหมือนกับการแสดงกายกรรม ซึ่งการให้ทำสะพานโค้งและใช้ปากหยิบวัตถุหรือสิ่งของที่พื้นนั้น จะฝึกค่อนข้างยาก ต้องใช้เวลาพอสมควร ประมาณ 3-4 เดือน คนที่แสดงได้ต้องเป็นเด็กเพราะต้องตัวอ่อน 

        ดังนั้น การแสดงพื้นบ้านนี้จึงต้องให้เด็กๆ เป็นคนสืบสานและอนุรักษ์ต่อๆ กันไป เพราะถ้าหากโตขึ้นมากกว่านี้ก็อาจจะแสดงไม่ได้แล้วเพราะติดภาระในการเรียนที่มากขึ้น เลยต้องมีการชวนเด็กๆ รุ่นเล็กๆ ให้เข้ามาร่วมในการแสดงเรื่อยๆ เพื่ออนุรักษ์การแสดงนี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป >>> อ่านต่อได้ที่

ตัวอย่างวิดีโอ การแสดงตารีนา


มนต์มลายู: การแสดงตารีอีนา

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

- http://libarts.pnu.ac.th/images/libdatabase/3southern/Tariena.pdf

-https://www.thairath.co.th/content/453101

- https://www.youtube.com/watch?v=jPUmcN9URSk

15 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหามีประโยชน์อละสามารถนำมาเป็นความให้กับผู้อ่านได้ดี

    ตอบลบ
  2. บทความน่าสนใจมากครับ ได้รู้จักศิลปะการแสดงของภาคใต้มากขึ้น

    ตอบลบ
  3. ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน"ตารีอีนา" เป็นความรู้ที่ดีเลย ได้รับความรู้มากหมาย เช่นการแต่งกาย วิธีการแสดง และมีวิดีโออีกด้วย

    ตอบลบ
  4. เนื้อหามีความน่าสนใจ และเป็นประโยชน์ สำหรับเด็กๆรุ่นใหม่มากครับ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณที่แบ่งปันเนื้อหาดีๆนะครับ

    ตอบลบ
  6. ข้อมูลที่นำมาเผยแพร่มีความน่าสนใจ อ่านแล้วเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน มีแหล่งข้อมูลที่ชัดเจน เยี่ยมค่ะ

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาดีมากเลยค่ะ มีรูปภาพพร้อมกับวีดีโอ ทำให้เข้าใจยิ่งขึ้น

    ตอบลบ
  8. ไม่เคยรู้จักการแสดงพื้นบ้านแบบนี้มาก่อนถือว่าเป็นการเผยแพร่ความรู้ที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากเลยคะ

    ตอบลบ
  9. เนื้อหามีความชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจง่าย มีรูปภาพเเละวิดีโอประกอบด้วยทำให้เข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลที่ดีนะคะ

    ตอบลบ
  10. ถือเป็นข้อมูลหน้าสนใจมากครับ ทำให้ได้เรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมเก่าๆที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆมากครับ

    ตอบลบ
  11. บทความที่นำเสนอถือว่าเป็น ข้อมูลที่ดีมากๆเลยค่ะ ทำให้เราได้รู้จักกับศิลปะวัฒนธรรมเก่าซึ่งหาดูได้ยากมากในตอนนี้ การมีรูปภาพ วิดีโอประกอบ ทำให้เข้าใจมากขึ้นอีกด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  12. เนื้อหาน่าสนใจมากๆเลยค่ะ ได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะเลย มีทั้งรูปภาพแลพวิดีโอ ขอบคุณข้อมูลดีๆนะคะ

    ตอบลบ
  13. เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ

    ตอบลบ